Talk to Parents

ไขข้อข้องใจ เพราะเหตุใดฝึกวินัยลูกเท่าไหร่ ก็ไม่ได้ผล

“เลี้ยงลูกยังไงทำไมถึงได้ดื้อแบบนี้” “ทำไมนักเรียนห้องเธอถึงได้ซนกันนักนะ” ประโยคเหล่านี้อาจทิ่มแทงใจ ใครหลายๆ คน ที่มั่นใจว่าเราได้ทำทุกวิถีทางแล้วที่จะกำราบปราบเจ้าตัวเล็กให้อยู่หมัด แต่ไม่รู้ทำไม๊ ทำไมนะ ยิ่งเราพยายามฝึกเด็กๆ ให้มีวินัยเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูเหมือนจะไม่ได้ผล หนำซ้ำพฤติกรรมที่เราเคยสอนเคยเตือนไปแล้ว ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ซ้ำๆ ไม่หายไปสักที วันนี้ครูพิมมีคำตอบที่น่าสนใจพร้อมวิธีแก้ไขข้อผิดพลาดที่เราอาจยังไม่เคยรู้มาฝากกันค่ะ

Continue Reading
Play and learn, Talk to Parents

พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย1-6 ปี (พร้อมไอเดียดีๆ ในการส่งเสริมลูกรัก)

เรื่องของ “ตัวเลข” เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตจากผู้ปกครองที่ครูพิมมักได้รับอยู่เสมอๆ เลยค่ะ อ๊ะๆ แต่ตัวเลขที่ว่า ไม่ใช่เลขที่มาวันที่ 1 กับวันที่ 16 นะคะ อิอิ แต่หมายถึงเรื่องของเลขกับช่วงวัยของเด็กๆ เช่นว่า ลูก 2 ขวบแล้ว ยังนับเลขไม่เป็นเลยครับ ลูก 4 ขวบบวกเลขไม่ได้ หรือบวกไม่คล่องค่ะครูพิม หรือบางคนก็มาในแนวตรงกันข้ามเช่นว่า ลูกขวบนิดๆ เองค่ะ แต่นับเลขได้ถึง 20 แน่ะ!

Continue Reading
Sensory Play นั้นสำคัญไฉน? พร้อมแนะนำ 10 วัตถุดิบหาง่าย เล่นได้จริงPlay and learn

Sensory Play นั้นสำคัญไฉน‬? (พร้อมแนะนำ 10 วัตถุดิบหาง่าย เล่นได้จริง)

ในช่วงที่ครูพิมทำงานที่สโมสรเด็กนั้น ครูพิมมีโอกาสได้เจอเด็กๆ ตัวน้อยตั้งแต่วัยเตาะแตะจนถึงวัยกำลังซนจำนวนไม่น้อย และมักจะมีผู้ปกครองขอคำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ ในวัยนี้อยู่บ่อยๆ ทำให้ครูพิมนึกถึงกิจกรรมหนึ่งที่มักจะแนะนำคุณพ่อคุณแม่ให้ลองทำ และแนะนำเด็กๆ ให้ลองเล่น นั่นคือ กิจกรรมเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส หรือ Sensory Play นั่นเองค่ะ

Continue Reading
ฺBooks & Movies

“Inside Out” หนังดีที่เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ยิ่งควรดู!

ครูพิมเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ชื่นชอบการดูภาพยนตร์แบบเด็กๆ มากค่ะ และจริงๆ ก็ไม่ใช่แค่ภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการอ่านนิทาน และวรรณกรรมเยาวชนต่างๆ ด้วย เพราะเรื่องราวในหนังสือหรือภาพยนตร์เหล่านี้ ไม่เพียงแต่ให้ความบันเทิงกับเด็กๆ และผู้อ่านอย่างครูพิมเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้เรา “เข้าถึง” และ “เข้าใจ” ความคิดและความรู้สึกของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

Continue Reading
"สมาธิสั้นของหนูนี้...มีที่มา" (และมาดูกันว่าจะแก้อย่างไร)Talk to Parents

“สมาธิสั้นของหนูนี้…มีที่มา” (และมาดูกันว่าจะแก้อย่างไร)

เช้าวันจันทร์ในสัปดาห์หนึ่ง ขณะที่ครูพิมนั่งทำงานอยู่ตามปกติ น้องอันอัน(นามสมมติ) สาวน้อยวัยประมาณ 5 ขวบวิ่งเข้ามาในสโมสรที่ครูพิมทำงานอยู่ ในตอนนั้น เพียงแค่ไม่กี่นาทีที่เห็นครูพิมก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า สาวน้อยคนนี้น่าจะมีอาการที่ผู้ปกครองสมัยนี้รู้จักกันดีว่า “สมาธิสั้น”

Continue Reading
Talk to Parents

ดูอย่างไรว่าเราเป็นผู้ปกครองที่เข้มงวด (เกินไป) หรือเปล่า?

ครูพิมทราบดีค่ะว่า การที่เราสามารถเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างชนิดที่คนอื่นเรียกว่า “เป็นเด็กดี” นั้น เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจมาให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคน แต่ระหว่างทางที่จะไปถึงจุดนั้นได้ มันไม่มีสูตรสำเร็จ และคำว่า “เด็กดี” นั้น ก็ไม่รู้ว่ามีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดอยู่ที่ตรงไหน ดังนั้นพ่อแม่ต่างก็เลือกทำหนทางที่ “คิดว่า” น่าจะดีที่สุด ที่จะทำให้ลูกอยู่ในความคาดหวังของตนเองและสังคมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนบางครั้งอาจจะเลยเถิดเกินพอดี โดยที่พ่อแม่เองก็ไม่รู้ตัว

Continue Reading
Talk to Parents

5 สาเหตุของเด็กขี้โมโห (พร้อมแนวทางการแก้ไข)

แม้ว่าอารมณ์โกรธ จะเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย แต่การที่มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดีนักใช่ไหมล่ะคะ โดยเฉพาะเมื่ออารมณ์นี้เกิดขึ้นกับลูกของเรา จนในที่สุดเราก็คิดว่า ลูกเรานั้นเป็น “เด็กขี้โมโห” แน่ๆ เลย คำว่า “เด็กขี้โมโห” คงเป็นชื่อเรียกที่ไม่มีเด็กคนไหนอยากเป็น และแน่นอนว่าบรรดาพ่อแม่ต่างก็ต้องภาวนาว่าอย่าให้เป็นลูกฉันเลย แต่ก่อนที่ “เด็กธรรมดา” จะแปลงกายไปเป็น “เด็กขี้โมโห” ได้นั้น มันต้องมีสาเหตุอะไรสักอย่างหรืออาจจะหลายอย่างแน่นอนค่ะ

Continue Reading