คุณพ่อคุณแม่คิดว่า การเข้านอนของลูกๆ มีผลอย่างไรกับสมองของลูกบ้างคะ หรือว่าอันที่จริงแล้วไม่เกี่ยวกันเลย? วันนี้ครูพิมมีคำตอบมาให้แล้วค่ะ Yvonne Kelly* ได้ทำการวิจัย โดยติดตามชีวิตของเด็กๆ กว่าหมื่นคน ตั้งแต่อายุ 3 – 7 ปีเพื่อวิจัยว่า การเข้านอนตามเวลาอย่างสม่ำเสมอนั้น มีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development) ของเด็กๆ หรือไม่ อย่างไร
เตรียมความพร้อมให้ลูกตั้งแต่วันนี้
“มันไม่ใช่ธุระของคุณ ที่จะทำให้ชีวิตของเด็กๆ ง่ายขึ้น เพราะงานที่สำคัญจริงๆ คือการเตรียมพร้อมให้เขาสามารถเผชิญโลกด้วยตัวเองได้ในวันข้างหน้าต่างหาก” – ดร.ลอร์รา ความเป็นห่วงเป็นใยในสวัสดิภาพของเด็กๆ เป็นสิ่งที่ดีค่ะ และการดูแลเอาใจใส่ลูกๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเช่นกัน แต่การที่เราเข้าไปกำหนดพื้นที่ความปลอดภัยให้กับพวกเขามากเกินจำเป็น หรือเตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อให้พวกเขามีชีวิตที่ราบรื่น อาจไม่ใช่สิ่งที่จะส่งผลดีต่อชีวิตข้างหน้าของพวกเขาเสมอไปค่ะ
แบ่งกันเล่น จำเป็นไหม?
“น้องมุก แบ่งเพื่อนเล่นบ้างสิคะ” … “น้องปั้น อันนี้ไม่ใช่ของเราคนเดียวนะลูก” เหล่านี้คือบทสนทนา ซึ่งบางครั้งมาพร้อมกับเสียงดุๆ ของผู้เป็นแม่ (หรือบางทีก็พ่อ) ที่ครูพิมมักได้ยินจนชินหู ส่วนประโยคที่ว่า “ถามจริงๆ เถอะ เราจำเป็นต้องให้เด็กๆ แบ่งของเล่นกันไหม?” คือคำถามที่เพื่อนสนิทของครูพิมเอ่ยถามด้วยความสงสัยขั้นสุด
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่3)
คุณพ่อคุณแม่ยังพอจำเหตุการณ์ตัวอย่างกันได้ใช่ไหมคะ ในตอนที่แล้ว ในเรื่องของ Disconnecting Language หรือการสื่อสารที่ทำลายความสัมพันธ์นั้น เรายกตัวอย่างว่า เมื่อเห็นลูกกำลังตีเพื่อน เรามักจะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์และพูดคุยกับลูกอย่างไร แล้วคำถามพูดที่เราใช้กันอยู่บ่อยๆ นั้น ส่งผลอย่างไรต่อความรู้สึกของลูกบ้าง แน่นอนว่าคำถามที่ตามมาคือ “แล้วถ้าไม่อยากจะใช้คำพูดแบบนั้นกับลูก เราควรจะใช้คำพูดอย่างไรดี?”
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่2)
ในตอนที่แล้ว เราได้พูดคุยเรื่องของ “ความหมาย” และ “รูปแบบการสื่อสาร” แบบ Disconnection Language กับลูก กันไปแล้ว วันนี้ครูพิมจะมาเล่าให้ฟังต่อค่ะว่า คำพูดหรือวิธีการสื่อสารบางอย่างที่เราพูดออกไปหลังจากที่ลูกทำความผิดใดๆ นั้น สร้างความรู้สึกอย่างไรให้กับลูก (หรือแม้แต่ผู้ฟังวัยอื่นๆ )
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่1)
คุณพ่อคุณแม่เคยรู้สึกแบบนี้ไหมคะ? พูดอะไรลูกก็ไม่ฟัง ปัญหาเก่าๆ เดิมๆ ไม่เคยแก้ได้สักที สอนแล้วสอนอีก ยิ่งพูดกันก็เหมือนเรื่องจะยิ่งใหญ่โตบานปลาย จนเราถึงกับบอกตัวเองว่า “ลูกคนนี้นี่มันสอนยากสอนเย็นขึ้นทุกวัน” ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างความรู้สึกต่อไปนี้นะคะว่า คุณพ่อคุณแม่เองเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกแบบนี้บ้างหรือเปล่า? “ทำไมเธอพูดกับเราเหมือนเราทำผิดมากมายเลยนะ มันก็เรื่องแค่นี้เอง…”
เลี้ยงเด็กให้ “อารมณ์ดี” สำคัญที่สุด
การคิดถึงเรื่องที่อยากจะเขียนนี่มันไม่ง่ายเลยนะคะ ไม่ใช่ว่าคิดไม่ออกหรอก… แต่อยากจะให้ content แรกของ blog PimandChildrenนี้ เล่าถึงเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตเด็กและผู้ปกครองจริงๆ… 🙂 เพราะตลอดระยะเวลากว่า 5 ปีแบบเป็นทางการที่ได้คลุกคลีตีโมงอยู่กับเด็กๆ ครูพิมก็ได้เจอเหตุการณ์น่าประทับใจมากมาย สถานการณ์อันหลากหลาย รวมไปถึงคำถามจากเหล่าบรรดาพ่อๆ แม่ๆ ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อย