เรื่องของ “ตัวเลข” เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตจากผู้ปกครองที่ครูพิมมักได้รับอยู่เสมอๆ เลยค่ะ อ๊ะๆ แต่ตัวเลขที่ว่า ไม่ใช่เลขที่มาวันที่ 1 กับวันที่ 16 นะคะ อิอิ แต่หมายถึงเรื่องของเลขกับช่วงวัยของเด็กๆ เช่นว่า ลูก 2 ขวบแล้ว ยังนับเลขไม่เป็นเลยครับ ลูก 4 ขวบบวกเลขไม่ได้ หรือบวกไม่คล่องค่ะครูพิม หรือบางคนก็มาในแนวตรงกันข้ามเช่นว่า ลูกขวบนิดๆ เองค่ะ แต่นับเลขได้ถึง 20 แน่ะ!
“สมาธิสั้นของหนูนี้…มีที่มา” (และมาดูกันว่าจะแก้อย่างไร)
เช้าวันจันทร์ในสัปดาห์หนึ่ง ขณะที่ครูพิมนั่งทำงานอยู่ตามปกติ น้องอันอัน(นามสมมติ) สาวน้อยวัยประมาณ 5 ขวบวิ่งเข้ามาในสโมสรที่ครูพิมทำงานอยู่ ในตอนนั้น เพียงแค่ไม่กี่นาทีที่เห็นครูพิมก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า สาวน้อยคนนี้น่าจะมีอาการที่ผู้ปกครองสมัยนี้รู้จักกันดีว่า “สมาธิสั้น”
ดูอย่างไรว่าเราเป็นผู้ปกครองที่เข้มงวด (เกินไป) หรือเปล่า?
ครูพิมทราบดีค่ะว่า การที่เราสามารถเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างชนิดที่คนอื่นเรียกว่า “เป็นเด็กดี” นั้น เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจมาให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคน แต่ระหว่างทางที่จะไปถึงจุดนั้นได้ มันไม่มีสูตรสำเร็จ และคำว่า “เด็กดี” นั้น ก็ไม่รู้ว่ามีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดอยู่ที่ตรงไหน ดังนั้นพ่อแม่ต่างก็เลือกทำหนทางที่ “คิดว่า” น่าจะดีที่สุด ที่จะทำให้ลูกอยู่ในความคาดหวังของตนเองและสังคมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนบางครั้งอาจจะเลยเถิดเกินพอดี โดยที่พ่อแม่เองก็ไม่รู้ตัว
5 สาเหตุของเด็กขี้โมโห (พร้อมแนวทางการแก้ไข)
แม้ว่าอารมณ์โกรธ จะเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย แต่การที่มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดีนักใช่ไหมล่ะคะ โดยเฉพาะเมื่ออารมณ์นี้เกิดขึ้นกับลูกของเรา จนในที่สุดเราก็คิดว่า ลูกเรานั้นเป็น “เด็กขี้โมโห” แน่ๆ เลย คำว่า “เด็กขี้โมโห” คงเป็นชื่อเรียกที่ไม่มีเด็กคนไหนอยากเป็น และแน่นอนว่าบรรดาพ่อแม่ต่างก็ต้องภาวนาว่าอย่าให้เป็นลูกฉันเลย แต่ก่อนที่ “เด็กธรรมดา” จะแปลงกายไปเป็น “เด็กขี้โมโห” ได้นั้น มันต้องมีสาเหตุอะไรสักอย่างหรืออาจจะหลายอย่างแน่นอนค่ะ
ดูอย่างไรว่าลูกพร้อมไปโรงเรียน
นี่เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตจากผู้ปกครองที่มักจะถามครูพิมค่ะ โดยครูพิมให้คำตอบผู้ปกครองทั้งหลายไปว่า “เด็กควรไปโรงเรียนเมื่อไหร่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะทั้งหมดอยู่ที่ความพร้อมของเด็กค่ะ” นักจิตวิทยาเด็กและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการรวมไปถึงตัวครูพิมเอง จะให้ความสำคัญกับเรื่องของความพร้อมของเด็กเป็นหลักค่ะ เพราะแม้ว่าเด็กจะมีช่วงอายุที่ (ดูเหมือน) จะพร้อมแล้วสำหรับการไปโรงเรียน ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ขวบ แต่อายุ “มิได้บ่งบอกถึงความพร้อม” สำหรับการไปโรงเรียนเสมอไปค่ะ
Smartphones-Tablets กับเด็กเล็ก คุณค่าหรือยาพิษ?
ชีวิตความเป็น “คนเมือง” ที่มากขึ้นของพ่อแม่ ทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีเวลาในการเลี้ยงดูลูกด้วยตนเองน้อยลง ใช้เวลานอกบ้านในการทำงาน หาเงิน มากขึ้น และใช้เวลาในบ้านกับการจัดการธุระปะปังต่างๆ …รวมไปถึงงานบ้านงานเรือนที่ดูมากโข สรุปก็คือ เป็นพ่อแม่ (ยุคนี้) ช่างยุ่งเสียจริงหนอ เมื่อชีวิตมันยุ่ง เราต่างก็คิดว่า ทำไงดีหละ ให้ลูกยังมีความบันเทิงอยู่ ให้ลูกดูแลตัวเอง (?) ได้ ให้ลูกอยู่นิ่งๆ อาห์…เจ้าหน้าจอสี่เหลี่ยมพวกนี้นี่ไง ตัวช่วยของเรา!
สอนด้วยการตีดีจริงหรือ #ตอนที่2
เมื่อวานเราได้พูดกันแล้วในแง่ผลของการตีเด็กนะคะว่า สรุปแล้วการตีช่วยลดพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการให้เด็กทำได้จริงไหม? ผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลก็คือ “ไม่จริง” เพราะนอกจากจะไม่ลดแล้ว ในแง่ของพฤติกรรมก้าวร้าวยังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย —————————————— วันนี้เราจะมาพูดกันต่อในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้การตีไม่ได้ผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลูก และเพราะเหตุใด การตีจึงเป็นเรื่องต้องห้าม