มีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ยังคิดว่าการตีเป็นเรื่องจำเป็น หรือว่ายังอินกับสุภาษิตที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” อยู่ ส่วนตัวครูพิมนั้น เลิกอินกับสุภาษิตนี้ไปนานแล้วค่ะ เพราะไม่ว่าจะเป็นตัวเองโดนตี หรือเห็นคนอื่นโดนตี ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเขาถูกกระทำด้วยความรักแต่อย่างใด ก็เลยงงๆ เหมือนกันว่า แล้วเด็กๆ จะเข้าใจเหรอว่า “แม่/พ่อ/ครู ตีเพราะรัก” คนรักกันเค้าไม่ทำให้เราเจ็บหรอกค่ะ จริงไหม?
กอดลูกอย่างไรให้ทรงพลัง
การกอด เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ครูพิมชอบมากค่ะ โดยเฉพาะเวลากอดเด็กเล็กๆ ทั้งด้วยความหมั่นเขี้ยวและเอ็นดู เวลากอดเด็กตัวนิ่มๆ นี่จะรู้สึกดีมาก เหมือนได้เติมพลัง ทำให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย ครูพิมเองก็เชื่อว่า พ่อแม่ทุกคนรวมถึงใครก็ตามที่ได้มีโอกาสใช้เวลาอยู่กับเจ้าตัวเล็ก ย่อมอยากที่จะกอดจะหอมเป็นธรรมดา แต่ก็มีหลายๆ ครั้งค่ะ ที่การแสดงความรักอย่าง “การกอด” นั้น ถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย
การเข้านอนเเป็นเวลา มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
คุณพ่อคุณแม่คิดว่า การเข้านอนของลูกๆ มีผลอย่างไรกับสมองของลูกบ้างคะ หรือว่าอันที่จริงแล้วไม่เกี่ยวกันเลย? วันนี้ครูพิมมีคำตอบมาให้แล้วค่ะ Yvonne Kelly* ได้ทำการวิจัย โดยติดตามชีวิตของเด็กๆ กว่าหมื่นคน ตั้งแต่อายุ 3 – 7 ปีเพื่อวิจัยว่า การเข้านอนตามเวลาอย่างสม่ำเสมอนั้น มีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development) ของเด็กๆ หรือไม่ อย่างไร
เตรียมความพร้อมให้ลูกตั้งแต่วันนี้
“มันไม่ใช่ธุระของคุณ ที่จะทำให้ชีวิตของเด็กๆ ง่ายขึ้น เพราะงานที่สำคัญจริงๆ คือการเตรียมพร้อมให้เขาสามารถเผชิญโลกด้วยตัวเองได้ในวันข้างหน้าต่างหาก” – ดร.ลอร์รา ความเป็นห่วงเป็นใยในสวัสดิภาพของเด็กๆ เป็นสิ่งที่ดีค่ะ และการดูแลเอาใจใส่ลูกๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเช่นกัน แต่การที่เราเข้าไปกำหนดพื้นที่ความปลอดภัยให้กับพวกเขามากเกินจำเป็น หรือเตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อให้พวกเขามีชีวิตที่ราบรื่น อาจไม่ใช่สิ่งที่จะส่งผลดีต่อชีวิตข้างหน้าของพวกเขาเสมอไปค่ะ
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่3)
คุณพ่อคุณแม่ยังพอจำเหตุการณ์ตัวอย่างกันได้ใช่ไหมคะ ในตอนที่แล้ว ในเรื่องของ Disconnecting Language หรือการสื่อสารที่ทำลายความสัมพันธ์นั้น เรายกตัวอย่างว่า เมื่อเห็นลูกกำลังตีเพื่อน เรามักจะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์และพูดคุยกับลูกอย่างไร แล้วคำถามพูดที่เราใช้กันอยู่บ่อยๆ นั้น ส่งผลอย่างไรต่อความรู้สึกของลูกบ้าง แน่นอนว่าคำถามที่ตามมาคือ “แล้วถ้าไม่อยากจะใช้คำพูดแบบนั้นกับลูก เราควรจะใช้คำพูดอย่างไรดี?”
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่2)
ในตอนที่แล้ว เราได้พูดคุยเรื่องของ “ความหมาย” และ “รูปแบบการสื่อสาร” แบบ Disconnection Language กับลูก กันไปแล้ว วันนี้ครูพิมจะมาเล่าให้ฟังต่อค่ะว่า คำพูดหรือวิธีการสื่อสารบางอย่างที่เราพูดออกไปหลังจากที่ลูกทำความผิดใดๆ นั้น สร้างความรู้สึกอย่างไรให้กับลูก (หรือแม้แต่ผู้ฟังวัยอื่นๆ )
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่1)
คุณพ่อคุณแม่เคยรู้สึกแบบนี้ไหมคะ? พูดอะไรลูกก็ไม่ฟัง ปัญหาเก่าๆ เดิมๆ ไม่เคยแก้ได้สักที สอนแล้วสอนอีก ยิ่งพูดกันก็เหมือนเรื่องจะยิ่งใหญ่โตบานปลาย จนเราถึงกับบอกตัวเองว่า “ลูกคนนี้นี่มันสอนยากสอนเย็นขึ้นทุกวัน” ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างความรู้สึกต่อไปนี้นะคะว่า คุณพ่อคุณแม่เองเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกแบบนี้บ้างหรือเปล่า? “ทำไมเธอพูดกับเราเหมือนเราทำผิดมากมายเลยนะ มันก็เรื่องแค่นี้เอง…”