คุณพ่อคุณแม่คิดว่า การเข้านอนของลูกๆ มีผลอย่างไรกับสมองของลูกบ้างคะ
หรือว่าอันที่จริงแล้วไม่เกี่ยวกันเลย?
วันนี้ครูพิมมีคำตอบมาให้แล้วค่ะ
Yvonne Kelly* ได้ทำการวิจัย โดยติดตามชีวิตของเด็กๆ กว่าหมื่นคน ตั้งแต่อายุ 3 – 7 ปีเพื่อวิจัยว่า การเข้านอนตามเวลาอย่างสม่ำเสมอนั้น มีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development) ของเด็กๆ หรือไม่ อย่างไร
ผลการวิจัยพบว่า การเข้านอนในเวลาที่ไม่สม่ำเสมอนั้นมีความเชื่อมโยงกับผลคะแนนการอ่าน การคำนวน และมิติสัมพันธ์ที่ต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิงก็ตาม
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เด็กที่เข้านอนไม่เป็นเวลาจะมีความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่เข้านอนเป็นเวลานั่นเองค่ะ
และเธอยังแนะนำอีกด้วยว่า การเข้านอนตามเวลาประจำ (เข้านอนเวลาเดิมทุกวัน) ของเด็กเล็ก โดยเฉพาะวัยก่อน 3 ปี นั้นเป็นช่วงที่ Sensitive หรือมีผลกระทบมากที่สุดต่อพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดีกว่าค่ะ
ทราบแบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมจัดตารางเวลาให้เด็กๆ เข้านอนกันตามตารางที่สม่ำเสมอนะคะ และไม่ใช่เพียงการเข้านอนเป็นเวลาเท่านั้น แต่ควรจะเป็นเวลาที่เหมาะสม (ไม่ควรเกิน 2 ทุ่ม) และมีคุณภาพของการนอนที่ดีด้วยค่ะ
ไว้ครูพิมจะชวนคุยเรื่องนี้กันอีกในโอกาสหน้านะคะ : )
——————————
*ติดตามอ่านงานวิจัยชิ้นนี้กันต่อได้: Time for bed: associations with cognitive performance in 7-year-old children: a longitudinal population-based study – Yvonne Kelly, John Kelly, Amanda Sacker, University College London, 2013