เช้าวันจันทร์ในสัปดาห์หนึ่ง ขณะที่ครูพิมนั่งทำงานอยู่ตามปกติ น้องอันอัน(นามสมมติ) สาวน้อยวัยประมาณ 5 ขวบวิ่งเข้ามาในสโมสรที่ครูพิมทำงานอยู่ ในตอนนั้น เพียงแค่ไม่กี่นาทีที่เห็นครูพิมก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า สาวน้อยคนนี้น่าจะมีอาการที่ผู้ปกครองสมัยนี้รู้จักกันดีว่า “สมาธิสั้น”
ดูอย่างไรว่าลูกพร้อมไปโรงเรียน
นี่เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตจากผู้ปกครองที่มักจะถามครูพิมค่ะ โดยครูพิมให้คำตอบผู้ปกครองทั้งหลายไปว่า “เด็กควรไปโรงเรียนเมื่อไหร่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะทั้งหมดอยู่ที่ความพร้อมของเด็กค่ะ” นักจิตวิทยาเด็กและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการรวมไปถึงตัวครูพิมเอง จะให้ความสำคัญกับเรื่องของความพร้อมของเด็กเป็นหลักค่ะ เพราะแม้ว่าเด็กจะมีช่วงอายุที่ (ดูเหมือน) จะพร้อมแล้วสำหรับการไปโรงเรียน ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ขวบ แต่อายุ “มิได้บ่งบอกถึงความพร้อม” สำหรับการไปโรงเรียนเสมอไปค่ะ
การเข้านอนเเป็นเวลา มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
คุณพ่อคุณแม่คิดว่า การเข้านอนของลูกๆ มีผลอย่างไรกับสมองของลูกบ้างคะ หรือว่าอันที่จริงแล้วไม่เกี่ยวกันเลย? วันนี้ครูพิมมีคำตอบมาให้แล้วค่ะ Yvonne Kelly* ได้ทำการวิจัย โดยติดตามชีวิตของเด็กๆ กว่าหมื่นคน ตั้งแต่อายุ 3 – 7 ปีเพื่อวิจัยว่า การเข้านอนตามเวลาอย่างสม่ำเสมอนั้น มีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development) ของเด็กๆ หรือไม่ อย่างไร