“เลี้ยงลูกยังไงทำไมถึงได้ดื้อแบบนี้” “ทำไมนักเรียนห้องเธอถึงได้ซนกันนักนะ” ประโยคเหล่านี้อาจทิ่มแทงใจ ใครหลายๆ คน ที่มั่นใจว่าเราได้ทำทุกวิถีทางแล้วที่จะกำราบปราบเจ้าตัวเล็กให้อยู่หมัด แต่ไม่รู้ทำไม๊ ทำไมนะ ยิ่งเราพยายามฝึกเด็กๆ ให้มีวินัยเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูเหมือนจะไม่ได้ผล หนำซ้ำพฤติกรรมที่เราเคยสอนเคยเตือนไปแล้ว ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ซ้ำๆ ไม่หายไปสักที วันนี้ครูพิมมีคำตอบที่น่าสนใจพร้อมวิธีแก้ไขข้อผิดพลาดที่เราอาจยังไม่เคยรู้มาฝากกันค่ะ
5 สาเหตุของเด็กขี้โมโห (พร้อมแนวทางการแก้ไข)
แม้ว่าอารมณ์โกรธ จะเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย แต่การที่มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดีนักใช่ไหมล่ะคะ โดยเฉพาะเมื่ออารมณ์นี้เกิดขึ้นกับลูกของเรา จนในที่สุดเราก็คิดว่า ลูกเรานั้นเป็น “เด็กขี้โมโห” แน่ๆ เลย คำว่า “เด็กขี้โมโห” คงเป็นชื่อเรียกที่ไม่มีเด็กคนไหนอยากเป็น และแน่นอนว่าบรรดาพ่อแม่ต่างก็ต้องภาวนาว่าอย่าให้เป็นลูกฉันเลย แต่ก่อนที่ “เด็กธรรมดา” จะแปลงกายไปเป็น “เด็กขี้โมโห” ได้นั้น มันต้องมีสาเหตุอะไรสักอย่างหรืออาจจะหลายอย่างแน่นอนค่ะ
สอนด้วยการตีดีจริงหรือ #ตอนที่2
เมื่อวานเราได้พูดกันแล้วในแง่ผลของการตีเด็กนะคะว่า สรุปแล้วการตีช่วยลดพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการให้เด็กทำได้จริงไหม? ผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลก็คือ “ไม่จริง” เพราะนอกจากจะไม่ลดแล้ว ในแง่ของพฤติกรรมก้าวร้าวยังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย —————————————— วันนี้เราจะมาพูดกันต่อในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้การตีไม่ได้ผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลูก และเพราะเหตุใด การตีจึงเป็นเรื่องต้องห้าม
สอนด้วยการตีดีจริงหรือ #ตอนที่1
มีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ยังคิดว่าการตีเป็นเรื่องจำเป็น หรือว่ายังอินกับสุภาษิตที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” อยู่ ส่วนตัวครูพิมนั้น เลิกอินกับสุภาษิตนี้ไปนานแล้วค่ะ เพราะไม่ว่าจะเป็นตัวเองโดนตี หรือเห็นคนอื่นโดนตี ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเขาถูกกระทำด้วยความรักแต่อย่างใด ก็เลยงงๆ เหมือนกันว่า แล้วเด็กๆ จะเข้าใจเหรอว่า “แม่/พ่อ/ครู ตีเพราะรัก” คนรักกันเค้าไม่ทำให้เราเจ็บหรอกค่ะ จริงไหม?
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่2)
ในตอนที่แล้ว เราได้พูดคุยเรื่องของ “ความหมาย” และ “รูปแบบการสื่อสาร” แบบ Disconnection Language กับลูก กันไปแล้ว วันนี้ครูพิมจะมาเล่าให้ฟังต่อค่ะว่า คำพูดหรือวิธีการสื่อสารบางอย่างที่เราพูดออกไปหลังจากที่ลูกทำความผิดใดๆ นั้น สร้างความรู้สึกอย่างไรให้กับลูก (หรือแม้แต่ผู้ฟังวัยอื่นๆ )