ดื้อแบบนี้ ต้องลงโทษสิ ถึงจะได้หลาบจำ! ฮันแน่ คุณพ่อคุณแม่ท่านไหน มีความคิดนี้แวบขึ้นมาในหัวอยู่บ่อยๆ บ้างคะ? ยอมรับมาได้ค่ะไม่ว่ากัน เพราะการลงโทษด้วยการตี การตำหนิ หรือการลดสิทธิต่างๆ ของเด็ก เมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก อาจจะเป็นวิธีการที่ผู้ปกครองหรือครูหลายๆ ท่านเลือกใช้เป็นวิธีแรกๆ เพราะวิธีการนี้มักจะให้ผลที่รวดเร็วและจัดการสถานการณ์ได้ตามที่เราต้องการใช่ไหมล่ะคะ และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เราแทบจะไม่ต้องคิดอะไรมากมายนัก ในการใช้วิธีนี้ “กำราบ”เด็กๆ
3 ขั้นตอน ปรามลูกอย่างไร โดยไม่ต้องตะคอก
หลายๆ ครั้ง การเป็นพ่อแม่ ทำให้เราเผลอนึกไปว่า เรากำลังเป็นบุคคลที่ “มีอำนาจ” เหนือลูก โดยที่เรารู้ตัวหรืออาจจะไม่รู้ตัว ความคิดเช่นนี้ ทำให้หลายๆ ครั้ง เราปฏิบัติต่อลูกเสมือนคนที่ด้อยกว่า หรือเป็นคนที่ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของเราเท่านั้น จนเมื่อเด็กเริ่มที่จะเรียนรู้ว่า เฮ้ย…นี่มันชีวิตของฉันนี่หว่า นี่ฉันไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ตลอดก็ได้นี่ ซึ่งเป็นความคิดที่เด็กเล็กๆ เองก็เริ่มที่จะเข้าใจ เมื่อเข้าสู่วัยที่เริ่มเดินเองได้ เริ่มใช้ร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ในวัยนี้เอง ที่เด็กก็เริ่มเรียนรู้ที่จะ “ไม่เชื่อฟัง” และอยากที่จะท้าทายอำนาจของพ่อแม่
7 วิธีบอกรักลูกผ่านพฤติกรรมที่พ่อแม่ควรทำทุกวัน
พ่อแม่ทุกคนรักลูกเสมอ คำพูดสุดคลาสสิคนี้ เราได้ยินกันมาตลอด เลยใช่ไหมล่ะคะ แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ ความรักที่พ่อแม่มีให้กับลูกนั้น หลายๆ ครั้งกลับส่งไปไม่ถึงลูกๆ ที่รักของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้น มีเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กในช่วงวัยรุ่นจำนวนไม่น้อย ที่คิดน้อยเนื้อต่ำใจเพราะเข้าใจว่าพ่อแม่ไม่รัก ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ขึ้นกับเด็กๆ นั้น ก็เพราะการสื่อสารและการแสดงออกถึงความรักของเรานั้น อาจไม่ได้ตอบสนองกับความต้องการของเด็กๆ
5 เทคนิคปราบวายร้ายตัวจิ๋ว
ช่วงเวลาที่เจ้าตัวน้อยอายุประมาณ 2 ขวบ มักจะเป็นช่วงเวลาที่บรรดาพ่อๆ แม่ๆ ต่างลงคะแนนเสียงว่าเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดแล้ว (ถ้าไม่นับช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวัยรุ่น) เพราะต้องทั้งปรับตัว ปรับใจ ปรับอารมณ์ให้สามารถควบคุมสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของเจ้าตัวเล็ก ที่บางครั้งก็เรียกได้ว่าเปลี่ยนจากหน้ามือเมื่อตอน 1 ขวบ กลายเป็นหลังมืออย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะพฤติกรรมการ “Say No” และพฤติกรรม “บู๊แหลก ไม่กลัวใคร”จนถึงกับมีศัพท์ที่เรียกกันว่า “Terrible Two” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะในหมู่นักวิชาการหรือในหมู่แม่ๆ ก็ตาม
พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย1-6 ปี (พร้อมไอเดียดีๆ ในการส่งเสริมลูกรัก)
เรื่องของ “ตัวเลข” เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตจากผู้ปกครองที่ครูพิมมักได้รับอยู่เสมอๆ เลยค่ะ อ๊ะๆ แต่ตัวเลขที่ว่า ไม่ใช่เลขที่มาวันที่ 1 กับวันที่ 16 นะคะ อิอิ แต่หมายถึงเรื่องของเลขกับช่วงวัยของเด็กๆ เช่นว่า ลูก 2 ขวบแล้ว ยังนับเลขไม่เป็นเลยครับ ลูก 4 ขวบบวกเลขไม่ได้ หรือบวกไม่คล่องค่ะครูพิม หรือบางคนก็มาในแนวตรงกันข้ามเช่นว่า ลูกขวบนิดๆ เองค่ะ แต่นับเลขได้ถึง 20 แน่ะ!
ดูอย่างไรว่าเราเป็นผู้ปกครองที่เข้มงวด (เกินไป) หรือเปล่า?
ครูพิมทราบดีค่ะว่า การที่เราสามารถเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างชนิดที่คนอื่นเรียกว่า “เป็นเด็กดี” นั้น เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจมาให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคน แต่ระหว่างทางที่จะไปถึงจุดนั้นได้ มันไม่มีสูตรสำเร็จ และคำว่า “เด็กดี” นั้น ก็ไม่รู้ว่ามีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดอยู่ที่ตรงไหน ดังนั้นพ่อแม่ต่างก็เลือกทำหนทางที่ “คิดว่า” น่าจะดีที่สุด ที่จะทำให้ลูกอยู่ในความคาดหวังของตนเองและสังคมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนบางครั้งอาจจะเลยเถิดเกินพอดี โดยที่พ่อแม่เองก็ไม่รู้ตัว
5 สาเหตุของเด็กขี้โมโห (พร้อมแนวทางการแก้ไข)
แม้ว่าอารมณ์โกรธ จะเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย แต่การที่มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่ดีนักใช่ไหมล่ะคะ โดยเฉพาะเมื่ออารมณ์นี้เกิดขึ้นกับลูกของเรา จนในที่สุดเราก็คิดว่า ลูกเรานั้นเป็น “เด็กขี้โมโห” แน่ๆ เลย คำว่า “เด็กขี้โมโห” คงเป็นชื่อเรียกที่ไม่มีเด็กคนไหนอยากเป็น และแน่นอนว่าบรรดาพ่อแม่ต่างก็ต้องภาวนาว่าอย่าให้เป็นลูกฉันเลย แต่ก่อนที่ “เด็กธรรมดา” จะแปลงกายไปเป็น “เด็กขี้โมโห” ได้นั้น มันต้องมีสาเหตุอะไรสักอย่างหรืออาจจะหลายอย่างแน่นอนค่ะ