หนึ่งในพฤติกรรมที่ครูพิมเชื่อว่า สร้างความเครียดและกดดันให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่น้อย ก็คือการแสดงความก้าวร้าว การเรียกร้อง การใช้ความรุนแรง การลงไปชักดิ้นชักงอ และอีกสารพัดอาการที่เรารู้สึกว่า “ทนไม่ได้” เมื่อเด็กทำพฤติกรรมแบบนั้น
7 วิธีบอกรักลูกผ่านพฤติกรรมที่พ่อแม่ควรทำทุกวัน
พ่อแม่ทุกคนรักลูกเสมอ คำพูดสุดคลาสสิคนี้ เราได้ยินกันมาตลอด เลยใช่ไหมล่ะคะ แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ ความรักที่พ่อแม่มีให้กับลูกนั้น หลายๆ ครั้งกลับส่งไปไม่ถึงลูกๆ ที่รักของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้น มีเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กในช่วงวัยรุ่นจำนวนไม่น้อย ที่คิดน้อยเนื้อต่ำใจเพราะเข้าใจว่าพ่อแม่ไม่รัก ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ขึ้นกับเด็กๆ นั้น ก็เพราะการสื่อสารและการแสดงออกถึงความรักของเรานั้น อาจไม่ได้ตอบสนองกับความต้องการของเด็กๆ
Wonder : 6 ประเด็นชวนคิด เพื่อสร้างชีวิตมหัศจรรย์ให้กับลูกของคุณ
ภาพยนตร์เรื่อง Wonder หรือชีวิตมหัศจรรย์วันเดอร์ เป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ ออกัสต์ (อ๊อกกี้) พูลล์แมน หนุ่มน้อยวัย 10 ขวบ ผู้เกิดมาพร้อมความผิดปกติบนในหน้าจากโรงปากแหว่งเพดานโหว่ แต่ความโชคดีของอ๊อกกี้ก็คือการมีครอบครัวที่แสนอบอุ่นและเต็มไปด้วยพลังบวก ทว่าโลกแห่งความเป็นจริงนั้น เด็กทุกคนไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่กับแค่คนในครอบครัวได้ตลอดไป สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็ก คงพอจะทราบกันดีว่าการปรับตัวของเด็กธรรมดาๆ เวลาไปโรงเรียนอนุบาลครั้งแรก ก็ว่ายากแล้วใช่ไหมล่ะคะ แต่สำหรับอ๊อกกี้ การที่จะก้าวสู่โลกใบใหม่และใหญ่มากอย่างโลกที่เรียกว่า “โรงเรียน” ครั้งแรกด้วยอายุในวัยประถมปลายนั้น คงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่นอน
ติดตุ๊กตา : ปัญหา…หรือเรื่องธรรมดาของเด็ก
“น้องเน่า” คืออีกหนึ่งคำที่หลายๆ บ้านที่มีลูกเล็กคงคุ้นเคยกันดีเลยใช่ไหมล่ะคะ ไม่ว่าจะเป็น น้องเน่าที่มาในรูปแบบหมอน ตุ๊กตา ผ้าห่ม หรือของเล่นชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ที่เจ้าตัวน้อยของเราติดเป็นพิเศษชนิดที่ว่า กินนอนด้วยกันแทบจะตลอดเวลาเลยทีเดียว ซึ่งพฤติกรรมติดน้องเน่านี้ ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยรู้สึกวิตกกังวล และสอบถามครูพิมเกี่ยวกับเรื่องนี้กันเข้ามามากทีเดียวค่ะ
ดูอย่างไรว่าเราเป็นผู้ปกครองที่เข้มงวด (เกินไป) หรือเปล่า?
ครูพิมทราบดีค่ะว่า การที่เราสามารถเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างชนิดที่คนอื่นเรียกว่า “เป็นเด็กดี” นั้น เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจมาให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคน แต่ระหว่างทางที่จะไปถึงจุดนั้นได้ มันไม่มีสูตรสำเร็จ และคำว่า “เด็กดี” นั้น ก็ไม่รู้ว่ามีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดอยู่ที่ตรงไหน ดังนั้นพ่อแม่ต่างก็เลือกทำหนทางที่ “คิดว่า” น่าจะดีที่สุด ที่จะทำให้ลูกอยู่ในความคาดหวังของตนเองและสังคมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนบางครั้งอาจจะเลยเถิดเกินพอดี โดยที่พ่อแม่เองก็ไม่รู้ตัว
เลี้ยงเด็กให้ “อารมณ์ดี” สำคัญที่สุด
การคิดถึงเรื่องที่อยากจะเขียนนี่มันไม่ง่ายเลยนะคะ ไม่ใช่ว่าคิดไม่ออกหรอก… แต่อยากจะให้ content แรกของ blog PimandChildrenนี้ เล่าถึงเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตเด็กและผู้ปกครองจริงๆ… 🙂 เพราะตลอดระยะเวลากว่า 5 ปีแบบเป็นทางการที่ได้คลุกคลีตีโมงอยู่กับเด็กๆ ครูพิมก็ได้เจอเหตุการณ์น่าประทับใจมากมาย สถานการณ์อันหลากหลาย รวมไปถึงคำถามจากเหล่าบรรดาพ่อๆ แม่ๆ ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อย