คุณพ่อคุณแม่ยังพอจำเหตุการณ์ตัวอย่างกันได้ใช่ไหมคะ ในตอนที่แล้ว ในเรื่องของ Disconnecting Language หรือการสื่อสารที่ทำลายความสัมพันธ์นั้น เรายกตัวอย่างว่า เมื่อเห็นลูกกำลังตีเพื่อน เรามักจะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์และพูดคุยกับลูกอย่างไร แล้วคำถามพูดที่เราใช้กันอยู่บ่อยๆ นั้น ส่งผลอย่างไรต่อความรู้สึกของลูกบ้าง แน่นอนว่าคำถามที่ตามมาคือ “แล้วถ้าไม่อยากจะใช้คำพูดแบบนั้นกับลูก เราควรจะใช้คำพูดอย่างไรดี?”
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่2)
ในตอนที่แล้ว เราได้พูดคุยเรื่องของ “ความหมาย” และ “รูปแบบการสื่อสาร” แบบ Disconnection Language กับลูก กันไปแล้ว วันนี้ครูพิมจะมาเล่าให้ฟังต่อค่ะว่า คำพูดหรือวิธีการสื่อสารบางอย่างที่เราพูดออกไปหลังจากที่ลูกทำความผิดใดๆ นั้น สร้างความรู้สึกอย่างไรให้กับลูก (หรือแม้แต่ผู้ฟังวัยอื่นๆ )
พูดกับลูกแบบใดทำลายความสัมพันธ์ (ตอนที่1)
คุณพ่อคุณแม่เคยรู้สึกแบบนี้ไหมคะ? พูดอะไรลูกก็ไม่ฟัง ปัญหาเก่าๆ เดิมๆ ไม่เคยแก้ได้สักที สอนแล้วสอนอีก ยิ่งพูดกันก็เหมือนเรื่องจะยิ่งใหญ่โตบานปลาย จนเราถึงกับบอกตัวเองว่า “ลูกคนนี้นี่มันสอนยากสอนเย็นขึ้นทุกวัน” ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างความรู้สึกต่อไปนี้นะคะว่า คุณพ่อคุณแม่เองเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกแบบนี้บ้างหรือเปล่า? “ทำไมเธอพูดกับเราเหมือนเราทำผิดมากมายเลยนะ มันก็เรื่องแค่นี้เอง…”